ภาพโดย Prateek Katyal / unsplash.com

ภาพโดย Prateek Katyal / unsplash.com

เคยเจอคน ‘หิวแสง’ ไหม?

คน ‘หิวแสง’ ต่างจาก ‘คนหิว’ ตรงไหน? ตรงที่สิ่งที่คนเหล่านี้หิวไม่ใช่อาหาร แต่คือความสนใจจากผู้อื่น เปรียบกับสปอตไลต์เจิดจ้า ที่คนหิวแสงมองว่าคืออาหารชั้นดี

คำว่า‘หิวแสง’ กลายเป็นคำฮิตติดปากชาวเน็ตไทย ใช้วิพากษ์วิจารณ์ประเภทของบุคคลในโซเชียลมีเดีย ที่มักโพสต์ข้อความสุ่มเสี่ยงโดนทัวร์ลง ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ตั้งแต่การเมือง จนถึงเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

‘หิวแสง’ ในโซเชียล เป็นอาการเกี่ยวกับสุขภาพใจ

มาร์ก เลียร์รี (Mark Leary)นักจิตวิทยาจาก Duke University ในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า “ประโยชน์ของการเรียกร้องความสนใจทางออนไลน์มีน้อยมาก เราไม่ได้สัมผัสหรือพูดคุยกันจริงๆ ก็เป็นหนึ่งปัจจัย อีกทั้งผู้คนยังใช้เวลาส่วนมากไปกับการสร้างตัวตนปลอมๆ ทางโลกออนไลน์โดยไม่จำเป็น”

นอกจากนี้พฤติกรรมหิวแสงยังทำให้เราโฟกัสไปที่การเป็นจุดสนใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งวิธีการคิดแบบนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตนอกโซเชียลมีเดีย ในบางกรณีอาจทำให้หลงลืมคนจริงๆ ที่อยู่รอบตัวไปได้ง่ายๆ

และหากปล่อยไว้นานเข้า ความรู้สึกโหยหาความสนใจอย่างการหิวแสงจะครอบงำตัวเรา ทำให้ยิ่งหมกมุ่นกับโซเชียลมีเดีย ยิ่งโพสต์มากขึ้น ยิ่งอยากโดนแสงส่องมากขึ้น ไม่มีที่สิ้นสุด

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

คน ‘หิวแสง’ หิวอะไรบ้าง?

สำรวจตัวเองและคนใกล้ตัวว่าเคยทำตัว ‘หิวแสง’ ในโลกออนไลน์ไหม หยิบปากกาขึ้นมาแล้วเช็กไปทีละข้อด้วยกันง่ายๆ ตามนี้เลย

  • หิวโหยคำชมผ่านรูปโปรไฟล์ – ลักษณะแรกของชาวหิวแสงนั้นดูง่ายมาก โดยมากมักตั้ง ‘ภาพโปรไฟล์’ หรูหราอู้ฟู่ อาจมีของแบรนด์เนมมากมายในรูป โชว์ไลฟ์สไตล์แบบคนมีฐานะ บางคนอาจแต่งหน้ามากกว่าคนอื่น บางคนอาจถ่ายรูปกับรถหรูหรือไอเท็มที่บ่งชี้สถานะทางสังคม
  • หิวโหยคอนเน็กชัน – นอกจากลักษณะของชาวหิวแสงที่มักโพสต์รูปภาพและข้อความต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อนๆ ในโซเชียลมีเดียของชาวหิวแสงมักมีเยอะกว่าคนทั่วไป คนพวกนี้ไม่สนใจความลึกซึ้งของความสัมพันธ์เท่าใดนัก และสามารถ ‘แอด’ (Add) เพื่อนเพียงเพราะอยากมีจำนวนเพื่อนเยอะๆ และต้องการเป็นคน ‘ป็อบปูลาร์’ เท่านั้นเลย
  • หิวโหยคอมเมนต์เอาใจ – หลายคนคงเคยเห็นสเตตัสหรือข้อความประเภท “ฉันกำลังเศร้าอยู่นะ” บนอินเทอร์เน็ตกันบ้าง มีคำเรียกการกระทำแบบนี้ว่า ‘Sadfishing’ หรือการ แสร้งทำเป็นเศร้าเพื่อเรียกร้องความสนใจ พฤติกรรมแบบนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่สบายใจ หรือถูกกระตุ้นให้รู้สึกไม่ดี (Triggered) ไปด้วย มีบางกรณีที่ผู้โพสต์ทำไปเพื่อเรียกยอดไลก์หรือยอดคอมเมนต์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อความเข้าใจในโรคทางใจหลายโรค เช่น โรคซึมเศร้า และอาจทำให้ผู้ป่วยจริงๆ ถูกเข้าใจผิด หากผู้โพสต์รู้สึกว่าต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อความจำพวก ‘Sadfishing’ ลงโซเชียลมีเดีย และปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแทน
  • หิวโหยการโจมตีผู้อื่น – ความหิวโหยการถูกจับจ้องอาจทำให้บางคนทำตัวเป็น‘บุลลี่’ โดยการแสดงความเห็นค้านกับคนหมู่มาก ทั้งจงใจและไม่จงใจ พูดง่ายๆ ว่าการทำตนให้ ทัวร์ลง เป็นอีกทางให้เจ้าตัวได้เจิดจ้าเฉิดฉายสมใจ แม้จะไม่ใช่ทางที่ถูกต้องเลยก็ตามที
  • หิวโหยการแชร์ – คนหิวแสงมักเลือกวิธีแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง บางคนอาจแชร์ข้อมูลเบื้องลึกลงโซเชียลมีเดียโดยไม่กลั่นกรอง โดยใช้ฉากหน้าเป็นคนเปิดเผย อย่างการแชร์ข้อมูลความสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม แชร์เรื่องส่วนตัวมากๆ หรือการวิพากษ์วิจารณ์บางอย่างด้วยความรุนแรงโดยไม่จำเป็น ก็ถือเป็นวิธีแสดงออกของชาวหิวแสงอย่างหนึ่ง

‘โซเชียลมีเดีย’ เป็นเพียงโลกเสมือนที่ใครจะสวมบทเป็นอะไรก็ได้ จะไม่ดีกว่าหรือหากเราเลือกส่งต่อแต่พลังงานบวก และความเข้าอกเข้าใจกันในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แทนการส่งเสียงโหวกเหวกโวยวาย บังคับให้ผู้อื่นหันมาสนใจตนแต่เพียงผู้เดียว

อย่าลืมว่าหิวข้าวยังอิ่มท้องได้ แต่ ‘หิวแสง’ โหยหาเท่าไหร่ก็ไม่มีวันอิ่ม

อ้างอิง

narcissistfamilyfiles.com

socialmediatoday.com

theconversation.com

timeslive.co.za

yourtango.com


ดูข่าวต้นฉบับ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here