คนไม่ระวังตนเอง ‘ร้ายกาจ’ กว่าไวรัสกลายพันธุ์ ‘หมอธีระวัฒน์’ เตือนทำแพร่ระบาดวิบัติ

“หมอธีระวัฒน์” บอกชัด พฤติกรรมคน ไม่ระวังตัวเอง ร้ายกาจที่สุด ทำไวรัสโควิดแพร่ระบาดหนัก จนกลายพันธุ์ ฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ผล

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ย้ำการมีวินัย รักษาระยะห่าง ช่วยยับยั้งการระบาด ไม่ทำให้เกิดไวรัสกลายพันธุ์ หากไม่ระวังตัวเอง จะทำให้แพร่ระบาดวิบัติ การผันแปรรหัสพันธุกรรม จะนำไปสู่การติดเชื้อใหม่ วัคซีนอาจไร้ผล โดยระบุว่า

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถ้าจะกลัวเรื่องสายพันธุ์ ต้องถามตัวเองว่า ขณะนี้ยังมีวินัยรักษาระยะห่างหรือไม่ เท่านั้นก็พอครับ

การที่กล่าวถึงสายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่จากอังกฤษ และอย่างที่องค์การอนามัยโลกก็ออกมาเตือน ไวรัสกลายพันธุ์คู่ชอง อินเดีย และเราก็ทราบแล้วว่าฟิลิปปินส์เป็น

กลายพันธุ์คี่ คือ 3 และมีอีกหลายท่อนที่เปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปยังมโหฬาร

ทั้งนี้ทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากการปล่อยให้มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งไวรัสมีการผันแปรของรหัสพันธุกรรม

การศึกษาที่รองรับเรื่องการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม ว่ามีผลจริง ๆ คือต้อง พิสูจน์ให้ได้ว่า การผันแปรดังกล่าว ส่งผลทำให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง หรือที่เรียกว่า Functional mutations เช่น รายงานจากประเทศจีน ในเดือนมีนาคม และเมษายน 2563 ผู้ป่วยติดเชื้อ 11 ราย มีการผันของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งต่าง ๆ ของยีนของไวรัส อู๋ฮั่น อย่างน้อย 33 แห่ง

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

และเมื่อนำไวรัสไปศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่า มีการเพิ่มจำนวนได้มากกว่าเดิมเป็น 100 เท่า หรือทำการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ หรือ ในตัวมิ้งค์ ที่มีการติดเชื้อ โควิด-19 จากคน และมีการแปรรหัสพันธุกรรม จนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมิ้งค์ และทำให้เกิดโรคได้หลายอวัยวะ เป็นต้น และมิ้งค์ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ที่ติดเชื้อจากคน ก็สามารถส่งเชื้อกลับมายังคนได้ แต่ในปัจจุบันอาการน้อยมาก หรือไม่รุนแรงเลย

ทั้งนี้ การผันของรหัสพันธุกรรมของไวรัสในท่อนต่าง ๆ แม้จะอยู่ใน assemblage หรือ clade หรือที่ชอบเรียกว่า “สายพันธ์” เดียวกัน ส่งผลให้มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนครั้งที่สองได้ แม้ว่าห่างกันจากการติดเชื้อครั้งแรกเพียงหกสัปดาห์ โดยการติดเชื้อครั้งที่สอง มีความรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสรุปว่าติดได้เก่งขึ้น หรือรุนแรงขึ้น จำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยร่วมอย่างอื่น ในจุดผันแปรย่อย ๆ ของยีนของไวรัสทั้งหมดด้วย และต้องประกอบกับลักษณะของมนุษย์ ที่ติดเชื้อแต่ละบุคคล ปัจจัยด้อยที่ทำให้เปราะบาง และมีการให้การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทันท่วงทีหรือไม่

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ตัวที่ “ร้ายกาจที่สุด” ที่ทำให้ควบคุมไม่อยู่ คือ พฤติกรรมไม่ระวังตนเอง มีการแพร่ การรับเชื้ออย่างง่ายดาย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอาจจะที่สุด ที่ทำให้แพร่ระบาดวิบัติ การผันแปรรหัสพันธุกรรม จะนำไปสู่การติดเชื้อใหม่ได้ การฉีดวัคซีนไม่ได้ผล และอาจส่งผลไปทำให้ การตรวจหาเชื้อ กระบวนการพีซีอาร์ ไม่เจอด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม


ดูข่าวต้นฉบับ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here