มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ครม.เห็นชอบจะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ขยายตัวตามเป้าหมายและบรรเทาผลกระทบประชาชน ซึ่งครอบคลุมมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย โดยได้อนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย

สำหรับมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย มีรายละเอียดดังนี้

1.วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและอยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากรมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ และลดภาระของประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

2.กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยมุ่งเน้นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี และเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากร จำนวน 100,000 ราย

3.ประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ สำหรับที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมที่อยู่อาศัยมือสองและทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ และไม่รวมทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี

4.วิธีดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากร และมีรายได้ไม่เกิน100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน1,200,000 บาทต่อปี และผ่านเกณฑ์ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะได้รับสิทธิผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดย ธอส. จะโอนเงินจำนวน 50,000 บาท เข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ เพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back)

5.งบประมาณ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธอส.จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียด

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการบ้านดีมีดาวน์มี 6 ขั้นตอน คือ1.ผู้เข้าร่วมลงทุนทะเบียนผ่าน www.บ้านดีมีดาวน์.com

11 ธ.ค.2562-31มี.ค.2563 โดยยอมให้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง กรมสรรพากร ข้อมูลเครดิตบูโร (NCB) และ ITMX(Interbank Transaction Management and Exchange)

2.ผู้ผ่านคุณสมบัติได้รับ SMS แจ้งผลตรวจสอบรอบแรก โดยกรมการปกครองจะตรวจตัวตนตามฐานข้อมูล ส่วนกรมสรรพากรจะตรวจการอยู่ในระบบฐานภาษี มีรายได้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท

3.สถาบันการเงินพิจารณาคำขอกู้ ซึ่งสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบหากตรวจสอบพบว่าผู้รับสิทธิ์ขอกู้ผิดวัตถุประสงค์ หรือผู้รับสิทธิ์ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จดจำนองก่อน 27 พ.ย.2562

4.ระบบตรวจสอบข้อมูลจากสถาบันการเงินกับ NCB และ ITMX เพื่อตรวจวัตถุประสงค์การกู้ และตรวจวันจำนองกับ NCB และตรวจความถูกต้องของเลขที่พร้อมเพย์ กับ ITMX

5.ธอส.โอนเงิน 50,000 บาทเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลข 13 หลัก

6.ผู้เข้าร่วมได้รับเงิน

ดูข่าวต้นฉบับ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here